เมนู

21. อัตถิปัจจัย


[217] 1. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่เป็นจิตตสหภูธรรม ฯลฯ เหมือนกับปฏิจจวาระ
2. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตต-
สหภูธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ ฯลฯ
3. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม
และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่เป็นจิตตสหภูธรรม ฯลฯ เหมือนกับปฏิจจวาระ
4. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
อินทริยะ
ฯลฯ
5. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต-
สหภูธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
6. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต-
สหภูธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิ-
ปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ ฯลฯ
7. จิตตสหภูธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม
เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ จักขายตนะและจักขุวิญญาณ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
พึงกระทำในปฏิสนธิทั้งหมด สหชาตะ ปุเรชาตะ ฯลฯ
8. จิตตสหภูธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
อินทริยะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ เป็นปัจจัย
แก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วย
กายวิญญาณ ฯลฯ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม และจิต เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
รูปทั้งหลาย ที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็น
ปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ พึงทำทั้ง 3 นัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม และจิตที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย
แก่กายที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรมนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม และจิต ที่เกิดภายหลัง และ
กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสหภูธรรม และจิตที่เกิดภายหลัง และรูป-
ชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ อัตถิปัจจัย.
9. จิตตสหภูธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม
เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่

ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 2 และจักขุวิญญาณ ฯลฯ เหมือนกับปัจจยวาระ.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม


[218] ในเหตุปัจจัย มี 3 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 9 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 9 วาระ ในสมนันตรปัจจัย
มี 9 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ
ในนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย
มี 3 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ
ในกัมมปัจจัย มี 3 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 9 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 9 วาระ
ในอินทริยปัจจัย มี 9 วาระ ในฌานปัจจัย มี 3 วาระ ในมัคคปัจจัย มี 3 วาระ
ในสัมปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 9 วาระ ในอัตถิปัจจัย
มี 9 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 9 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 9 วาระ ในอวิคตปัจจัย
มี 9 วาระ.

ปัจจนียนัย


การยกปัจจัยในปัจจนียะ


[219] 1. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาต-
ปัจจัย
, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย
.